วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ต้นไม้ประจำจังหวัดตาก ต้นแดง



ต้นแดง
ต้นไม้ประจำจังหวัดตาก


ต้นไม้ประจำจังหวัด

ตาก

ชื่อพันธุ์ไม้

แดง

ชื่อสามัญ

Iron Wood

ชื่อวิทยาศาสตร์

Xylia sylocarpa Var. kerrii (Craib & Hutch.) I. Nielsen

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

กร้อม (ชาวบน-นครราชศรีมา), ไคว (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), คว้าย (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่, กาญจนบุรี), ไคว เพร่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), จะลาน จาลาน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), แดง (ทั่วไป), ตะกร้อม (ชอง-จันทบุรี), ปราน (ส่วย-สุรินทร์) ไปรน์ (ศรีษะเกษ), ผ้าน (ละว้า-เชียงใหม่), เพ้ย (กะเหรี่ยง-ตาก), สะกรอม (เขมร-จันทบุรี)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้น สูง 15–30 เมตร กิ่งก้านและยอดอ่อนมีขนละเอียดสีเหลือง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับ ประกอบด้วย 2 ช่อ ใบแตกออกเป็น 2 ง่าม ใบย่อย 4–5 คู่รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อทรงกลมคล้ายดอกกระถิน ที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผล เป็นฝักรูปไต แบน แข็ง

ขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

สภาพดินที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ต้องการแสงแดด

ถิ่นกำเนิด

เป็นไม้หลักของป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งทั่วๆ ไป



 ฤดูทำการเพาะ การเพาะเมล็ดตะกูควรกระทำในระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม เพราะระยะเวลาดังกล่าวจะทำได้สะดวกและได้ผลดีเนื่องจากหมดหน้าฝนและอากาศไม่ร้อนจนเกินไป และอีกอย่างหนึ่งกว่าจะย้ายถุงลงชำได้ก็ต้องหลังจากงอกแล้วประมาณ 3 เดือน กล้าไม้จะต้องอยู่ในถุงชำอีกอย่างน้อย 4 เดือน ซึ่งจะมีความสูงประมาณ 25-30 เซนติเมตร ขนาดดังกล่าวนับว่าเหมาะสมที่จะใช้ปลูกได้พอดีในเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม
1. แปลงเพาะเมล็ด แปลงเพาะเมล็ดควรจะให้ร่มเงาบ้าง ทั้งนี้เนื่องจากเมล็ดใหม่จะงอกได้ดีถ้าหากมีร่มเงาประมาณ 50 % แต่เมล็ดเก่าจะงอกได้ดีในที่โล่งแจ้ง ขนาดของแปลงเพาะควรจะกว้าง 1 เมตร สำหรับความยาวนั้นแล้วแต่ความเหมาะสม ความกว้างขนาดดังกล่าวทำให้การปฏิบัติงานในแปลงเพาะเป็นไปอย่างสะดวกและง่ายต่อการคำนวณเนื้อที่ที่จะใช้หว่านเมล็ดลงไป ขอบแลงก่อด้วยอิฐมอญหรืออิฐบล็อค ซึ่งจะทำให้แข็งแรงทนทานและสะดวกต่อการเตรียมดิน เหาะสำหรับการเพาะและดูแลรักษาต้นไม้ ลักษณะของก้นแลงควรจะเป็นแบบเปิดหรือไม่มีก้น ทั้งนี้เพื่อให้น้ำฝนหรือน้ำที่รดที่มีจำนวนมากเกินพอซึมลงไปในดินได้สะดวก แต่ละแปลงควรจะมีฝาครอบแปลงซึ่งด้านบนบุด้วยลวดตาข่ายสำหรับป้องกันสัตว์หรือแมลงที่ชอบกินหรือทำความเสียหายแก่เมล็ดและกล้าไม้ ส่วนมากจะใช้ฝาครอบนี้เฉพาะเวลากลางคืน สำหรับกลางวันจะเปิดให้ได้รับแสงเต็มที่ เพื่อช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น
2. ดินสำหรับเพาะเมล็ด ควรจะเป็นดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี สำหรับดินในกรณีอื่นควรจะผสมทรายลงไปด้วยประมาณ 50 % ดินที่จะใช้ควรทุบให้ละเอียดโดยแยกเอาเศษไม้ หินและกรวดออกเสียก่อน แล้วค่อยนำไปใส่ลงในแปลงเพาะ โดยใส่ให้เต็มเสมอกับขอบแปลง เสร็จแล้วใช้ไม้เหลี่ยมตบแต่งหน้าดินโดยเกลี่ยให้เสมอกับขอบแปลงทุกด้าน ก่อนหว่านเมล็ดลงไปในแปลงเพาะให้รดน้ำดินเสียก่อน แล้วทิ้งไว้สักระยะหนึ่งเพื่อให้ดินเกาะตัวแล้วจึงค่อยหว่านเมล็ดลงไป
3.การหว่านเมล็ด เมล็ดตะกูมีขนาดเล็กมาก (เฉลี่ยแล้วเมล็ดหนึ่งจะยาวประมาณ 0.66 มม. กว้างประมาณ 0.44 มม. ) และมีกากซึ่งเป็นส่วนของผลปนอยู่ด้วย ซึ่งสามารถมองเห็นความแตกต่างด้วยตาเปล่าได้ เพื่อจะกะจำนวนเมล็ดให้ได้พอเหมาะกับขนาดของพื้นที่ที่เราจะทำการหว่าน ควรทดลองหว่านเมล็ดลงในกระดาษกร๊าฟเพื่อเป็นการซ้อมมือในพื้นที่ 1 ตารางเมตรเสียก่อน โดยให้มีระยะถี่ห่างพอสมควร เสร็จแล้วนำเมล็ดที่หว่านลงไปทั้งหมดมาชั่งดูอีกที ด้วยวิธีดังกล่าวเราก็อาจทราบได้โดยประมาณว่าควรจะใช้เมล็ดต่อเนื้อที่สักเท่าใด
การหว่านเมล็ดตะกูนี้เพื่อความสะดวกและรวดเร็วควรใช้มือหว่านแบบกระจัดกระจาย (Broadcast sowing) โดยให้มีระยะสม่ำเสมอคลุมพื้นที่โดยตลอดและคอยระวังอย่าให้เมล็ดซ้อนกัน เมื่อหว่านเมล็ดเสร็จแล้วให้ใช้ไม้เหลี่ยมที่เกลี่ยดินกดทับเมล็ดให้ฝังลงไปในดิน โดยให้ส่วนบนสุดของเมล็ดเสมอกับผิวดิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เมล็ดซ้อนกันหรือรวมกันเป็นกลุ่มในเวลาที่เรารดน้ำ จากนั้นใช้ทรายโรยกลบลงไปบนเมล็ดบาง ๆ อีกทีหนึ่งเพื่อทรายดังกล่าวจะช่วยให้น้ำที่เรารดซึมลงไปในแปลงได้สะดวก และช่วยไม่ให้น้ำขังบนหน้าแปลงอีกด้วย
4. การรดน้ำแปลงเพาะ ในขณะที่เมล้ดยังไม่งอกควรรดน้ำทั้งเช้าและเย็น เพื่อให้ดินในแปลงชื้นอยู่เสมอ โดยใช้บัวรดน้ำชนิดที่หัวเป็นฝอยละเอียดเพื่อลดแรงกระแทกของน้ำ น้ำที่ใช้รดกล้าจะให้ดีควรผสมยาฆ่าเชื้อราลงไปด้วย โดยทั่วไปเมล็ดจะงอกหลังจากการเพาะไปแล้วประมาณ 10-14 วัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเมล็ดและสภาพของดินฟ้าอากาศ จากการทดลองพบว่าหากเก็บเมล็ดในสภาพชื้นที่อุณหภูมิ 4  องศาเซลเซียส นาน 1-2 สัปดาห์ จะทำให้เมล็ดตะกูมีอัตราการงอกที่ดีขึ้นและหลังจากเมล็ดงอกแล้วควรจะลดการให้น้ำลง จนเห็นว่าดินในแปลงนั้นแห้งจริง ๆ จึงค่อยรดน้ำเท่าที่จำเป็นซึ่งอาจเป็นวันละครั้งในตอนเย็นหรือวันเว้นวัน เพื่อป้องกันมิให้กล้าไม้เกิดโรคเน่าคอดินได้

 การย้ายชำ
 ขนาดถุงพลาสติก ถุงพลาสติกสำหรับบรรจุดินเพื่อชำกล้าไม้ตะกูควรใช้ขนาด 4 x 6 นิ้ว หนา 0.10 มม. น้ำหนัก 1 กก. จะมีจำนวนถุงประมาณ 700 ถุง ถุงพลาสติกก่อนนำไปบรรจุดินต้องใช้ที่เจาะปะเก็นเจาะรูเสียก่อน เพื่อช่วยระบายน้ำเวลารดน้ำ หรือฝนตกมากเกินไป เพราะถ้าหากให้น้ำขังในถุงชำแล้วอาจทำให้เกิดโรคเน่าคอดินแก่กล้าไม้ได้
 ดินสำหรับบรรจุงชำ ดินที่ใช้บรรจุถุงพลาสติกเพื่อชำกล้าไม้เป็นหน้าดินจากป่าธรรมชาติ ซึ่งควรจะเป็นดินร่วนปนทรายซึ่งมีการระบายน้ำได้ดีเช่นเดียวกับดินที่ใช้ในการเพาะเมล็ด จากนั้นนำดินมาผสมกับทรายและขีเถ้าแกลบในอัตราส่วน 1:1:1 โดยใช้พลั่วผสมคลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วบรรจุดินใส่ถุงพลาสติกที่เจาะรูเตรียมไว้กระแทกก้นถุงให้แน่นและใช้มือขยุ้มพับก้นถุงให้แบนราบเพื่อสะดวกต่อการจัดเรียงเป็นแปลง ๆ
 การชำกล้าไม้ กล้าไม้ตะกูหลังจากงอกแล้วจะมีอัตราการเจริญเติบโตช้ามาก จากการทดลองย้ายชำที่ศูนย์บำรุงพันธุ์ไม้กระยาเลยกำแพงเพชร พบว่ากล้าไม้ที่มีอายุประมาณ 3 เดือน ซึ่งมีขนาดความสูงราว 2-2.5 ซม. จะมีอัตราการรอดตายประมาณ 80 % สำหรับการให้ร่มกล้าไม้นั้นจะให้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศเพราะถ้าให้ร่มมากเกินไปจะทำให้ได้กล้าไม้ที่ไม่แข็งแรง เพราะจะเจริญเติบโตทางด้านความสูงเร็วเกินไป ทำให้ลำต้นคดงอ ยอดอ่อน และยังเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย ถ้าให้ร่มน้อยไปอาจทำให้กล้าไม้ที่เราย้ายชำลงไปรอดตายน้อย เนื่องจากถูกแดดแรงมากเกินไป
การถอนหรือขุดกล้าในแปลงเพาะชำเพื่อนำกล้ามาชำในถุงดินนี้ ควรต้องรดน้ำในแปลงเพาะให้ชุ่มเสียก่อน เพื่อจะได้ถอนกล้าไม้ได้สะดวก กล้าไม้ที่ถอนขึ้นมาจากแปลงเพาะควรจะพักหรือเก็บไว้ในถังหรือขันพลาสติกซึ่งมีน้ำบรรจุอยู่เพื่อมิให้กล้าเหี่ยว การถอนกล้าไม้เพื่อชำครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ควรถอนเป็นจำนวนมาก ควรกะให้ชำแล้วเสร็จพอดีภายใน2-3 ชั่วโมง
ก่อนชำกล้าไม้ลงถุงควรใช้ไม้แท่งกลมขนาดโตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ยาวพอประมาณ เสี้ยมปลายแหลมด้านหนึ่งคล้ายแท่งดินสอ แทงนำลงไปในถุงชำที่ได้รดน้ำเปียกโชกแล้ว โดยกะให้รูนั้นอยู่ตรงกึ่งกลางถุงพอดี แล้วจึงค่อยชำกล้าไม้ลงทีหลัง เวลาชำให้นำส่วนรากของกล้าไม้ใส่เข้าไปในรูดังกล่าว แล้วกดดินโคนต้นกล้าให้แน่นเพื่อป้องกันมิให้รากพับหรือบิดงอ และอย่าให้เกิดช่องว่างภายในรูนั้น หลังจากนั้นรดน้ำทันที่โดยใช้บัวรดน้ำชนิดเดียวกับที่ใช้รดน้ำกล้าไม้ในแปลงเพาะ

 การดูแลรักษา
 การรดน้ำ ในระยะแรกหลังจากย้ายชำกล้าไม้ใหม่ ๆ ควรจะรดน้ำในถุงชำทั้งเช้าและเย็นเพื่อให้กล้าไม้ตั้งตัวได้เร็ว เมื่อกล้าไม้ตั้งตัวได้และได้โรยทรายหยาบหน้าถุงชำแล้ว รดเช้าเพียงวันละครั้งในตอนเช้าก็เพียงพอ เพราะถ้าให้น้ำมากเกินไปจะทำให้กล้าไม้เติบโตทางความสูงเร็วเกินไป ซึ่งจะทำให้ต้นอ่อนคองอและหักล้มได้ง่าย
 การถอนวัชพืช เพื่อป้องกันมิให้วัชพืชขึ้นเบียดเสียดแย่งอาการในถุงชำกล้าไม้ตะกู ควรทำการถอนวัชพืชอย่างน้อยเดือนละครั้ง ปกติจะถอนวัชพืชภายหลังจากการถอนกล้าไม้เสร็จแล้วใหม่ ๆ เพราะดินในถุงชำยังอ่อนอยู่ ซึง่จะทำให้การถอนวัชพืชดังกล่าวทำได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันเมื่อถอนวัชพืชแล้วก็แต่งดินหรือทรายหน้าถุงชำนั้นให้เรียบร้อย
 การตัดราก เนื่องจากหากปล่อยให้รากหยั่งลึกลงไปในดินนอกถุงชำแล้ว เวลาจะขนกล้าไม้ไปปลูกจะทำให้ระบบรากได้รับความกระทบกระเทือนมาก และอาจทำให้ต้นไม้ตายได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องตัดรากด้วยวิธีลากถุงหรือเลื่อนถุงชำกล้าไม้โดยใช้มือจับกึ่งกลางถุง กดให้ถุงแนบติดกับพื้นดินในขณะที่เราทำการเลื่อนหรือลากถุงก็จะทำให้รากดังกล่าวนั้นขาดได้ การตัดรากควรจะกระทำอย่างน้อย 2 เดือนต่อครั้ง
การจัดแยกชั้นความสูง เป็นการเรียงต้นไม้ตามลำดับตั้งแต่สูงที่สุดไปหาต่ำที่สุด เพื่อเปิดโอกาสให้กล้าไม้ทุกต้นได้รับแสงสว่างอย่างทั่วถึง ซึ่งจะทำให้กล้าไม้เจริญเติบโตเร็วและมีความแข็งแรง กับทั้งยังมีความสะดวกในการคัดเลือกนำกล้าไม้ไปปลูกอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น