วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ต้นไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลก ต้นปีบ



ต้นไม้ประจำจังหวัด

พิษณุโลก


ชื่อพันธุ์ไม้

ปีบ


ชื่อสามัญ

Cork Tree


ชื่อวิทยาศาสตร์

Millingtonia hortensis Linn. F.


วงศ์

BIGNONIACEAE


ชื่ออื่น

กาซะลอง กาดสะลอง (ภาคเหนือ), เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปีบ (ภาคกลาง)


ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นสูง 5–25 เมตร เปลือกขรุขระสีเทา ตามกิ่งมีช่องอากาศเป็นจุดๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปไข่แกมรูปหอกปลายใบแหลม ขอบใบหยักเว้าหรือหยักกลมๆ เรียบ โคนใบกลม มีต่อมขนอยู่ตรงมุมระหว่างเส้นกลางใบและเส้นใบ ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ตั้งตรง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อเล็กๆ ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรเพศผู้มี 4 อัน ยาว 2 อัน สั้น 2 อัน ติดอยู่บนกลีบใกล้ปลายที่แยกออก ผลเป็นฝัก เมล็ดมีปีก


ขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด


สภาพที่เหมาะสม

สภาพดินร่วนปนทราย อากาศชุ่มชื้น


ถิ่นกำเนิด

ป่าเบญจพรรณทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย

ต้นไม้ประจำจังหวัดพิจิตร ต้นบุนนาค




ชื่อทั่วไป-  ต้นบุนนาค
ชื่อสามัญ-  Iron Wood , Ceylon Iron Wood
ชื่อวิทยาศาสตร์-  Mesua ferrea
วงศ์- GUTTIFERAE  ( CLUSIACEAE )
ชื่ออื่นๆ-  นาคบุตร ปะนาคอ สารภีดอย ก๊าก่อ ก้ำก่อ
-  ภาคใต้ 
นาคบุตร (Nakbut)
-  มลายู ปัตตานี 
:
 ปะนาคอ (Pa-na-kho)
ถิ่นกำเนิด-  มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย
ประเภท-  ไม้ยืนต้น
รูปร่างลักษณะ-  ไม้ยืนต้นขนาดกลางออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ  ดอกขาวนวลงามสะดุดตา ใบเขียวแก่ขนาดย่อมเป็นพุ่มทึบ รูปเจดีย์ สวยงามมาก
-  
ออกดอก มีนาคม - กรกฎาคม เป็นผล เมษายน - สิงหาคม
การขยายพันธ์-  ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด 
   1. เมล็ดงอกใช้เวลาประมาณ 15 วัน
   2. ระยะเวลา 8 เดือน กล้าไม้จะมีความสูงประมาณ 60 ซม. สามารถย้ายปลูกได้
สภาพที่เหมาะสม-  ขึ้นประปรายในป่าดิบชื้น ทางภาคเหนือและภาคใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 20 - 700 เมตร
 
ประโยชน์-  ราก แก้ลมในลำใส้ เปลือกใช้กระจายหนอง กระพี้แก้เสมหะในลำคอ ไม้เป็นยาแก้ลักปิดลักเปิด ใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ ก่อสร้างเสา รอด ต่อเรือ ทำพานท้ายและรางปืน ด้ามร่ม ใบพอกแผลสดดอกบำรุง โลหิตระงับกลิ่นตัว ใช้ผสมสีเพื่อให้สีติดทน เมล็ด น้ำมันที่กลั่นจากเมล็ดใช้จุดตะเกียง และทำเครื่องสำอาง

ต้นไม้ประจำจังหวัดพะเยา ต้นสารภีไทย



ต้น สารภี
ชื่อพื้นเมือง: ทรพี สร้อยทอง สารภีแนน สารภีป่า
ลักษณะทั่วไป: ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10 - 15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ทึบ เปลือกสีเทาปนดำ
ใบ: เดี่ยว เรียงสลับ
ดอก: สีขาวมีกลิ่นหอม ออกเป้นดอกเดี่ยว หรือ ช่อแบบช่อกระจุกตามกิ่ง ดอก ออก ม.ค - มี.ค
ผล: ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดี่ยวทรงกระสวย ผล ออก ก.พ - เม.ย
ด้านภูมิทัศน์: ปลูกให้ร่มเงาในบ้าน ได้ดีเพราะพุ่มใบสวย ดอกหอม ผล เป็นอาหารนก
ประโยชน์: ดอกตูมใช้ย้อมไหมใสแดง ดอกมีสารช่วยขยายหลอดลม ขับลม บำรุงหัวใจและแก้ไข้
คนไทยโบราณเชื่อว่า: บ้านใดปลูกต้นสารภีไว้ประจำบ้านจะทำให้มีอายุยืนนานเพราะสารภีเป็นไม้ที่มีเนื้อไม้ละเอียดแข็งแรง ทนทาน และเป็นไม้ไทยที่มีอายุยืนอีกด้วย นอกจากนี้โบราณเชื่ออีกว่า ดอกสารภียังช่วยเป็นสิ่งบำรุงสุขภาพจิตที่ดี เพราะดอกสารภีเป็นเครื่องยาบำรุงหัวใจชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ร่างกายเกิดอารมณ์เยือกเย้นอ่อนหวาน ดังนั้นจึงทำให้ชีวิตมีอายุยืนยาว ได้เช่นกัน

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ต้นไม้ประจำจังหวัดน่าน ต้นเลี้ยวดอกขาว



ชื่อดอกไม้ ดอกเสี้ยวดอกขาว
ชื่อสามัญ Orchid Tree, Purple Bauhinia
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia variegata L.
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น เสี้ยวป่าดอกขาว
ลักษณะทั่วไป ต้นสูง 5 ? 10 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลม ใบเดี่ยวค่อนข้างกลม ปลายและโคนใบเว้า คล้ายใบแฝดติดกัน ใต้ใบมีขน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายกิ่ง 6 ? 10 ดอก มี 5 กลีบคล้ายดอกกล้ายไม้มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกตลอดปี ดอกดกช่วงเดือนพฤศจิกายน ? มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม เติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี ความชื้นสูง แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด อินเดีย, มาเลเซีย


ต้นไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์ ต้นอินทราชิต


ดอกไม้ประจำจังหวัด
นครสวรรค์
ชื่อสามัญ
Lagerstroemia loudonii Binn.
ชื่อวิทยาศาสตร์
Butea monosperma
วงศ์
LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น ๆ
เกรียบ ตะเกรียบ (ชอง-จันทบุรี), ตะแบกขน (นครราชสีมา), เสลาใบใหญ่ (ทั่วไป),
อินทรชิต
ลักษณะทั่วไป 
ต้นสูงได้ถึง 20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือทรงกระบอก หนาทึบ ใบเดี่ยวรูปไข่
แกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่งโคนมน ใบหนา และมีขนนุ่มทั้งสองด้าน
ออกดอกเป็นช่อตามกิ่ง มี 6 กลีบ โคนคอดเป็นก้านสั้น มีหลายสี เช่น ขาว ม่วง ม่วง
อมแดงกลีบดอกบางยับย่นออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลกลมรี
เปลือกแข็ง เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 5–6 พู เมล็ดจำนวนมาก มีปีก
การขยายพันธุ์
โดยเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
ร่วนซุย แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด
เอเชียเขตร้อน


ต้นไม้ประจำจังหวัดตาก ต้นแดง

ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ต้นทองกวาว

ต้นทองกวาว
ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงให































ต้นไม้ประจำจังหวัด

เชียงใหม่

ชื่อพันธุ์ไม้

ทองกวาว

ชื่อสามัญ

Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree

ชื่อวิทยาศาสตร์

Butea monosperma Kuntze.

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 8–15 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำแตกเป็นร่องตื้นๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบออกสลับกัน ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งก้านและที่ปลายกิ่ง ดอกสีเหลืองถึงแดงแสด ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบน มีเมล็ดที่ปลายฝัก

ขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

ที่ราบลุ่มในป่าผลัดใบ ป่าหญ้าหรือป่าละเมาะที่แห้งแล้ง พบมากทางภาคเหนือ

ต้นไม้ประจำจังหวัดของภาคเหนือ (16 จังหวัด)


สีเสียดแก่น

1. ชื่อพันธุ์ไม้   เสียดแก่น

2. ชื่อสามัญ (ไทย)  สีเสียดแก่น  (ราชบุรี)  สีเสียดเหนือ (ภาคกลาง) สีเสียดเหลือง

       (เชียงใหม่) สีเสียด (ภาคเหนือ)  สะเจ (ชานแม่ฮ่องสอน) 

          เบ้ (กะเหรี่ยง  เชียงใหม่)
 (อังกฤษ)               Catechu Tree. Cutch  Tree

3. ชื่อวิทยาศาตร์      Acacia catechu Willd.

4. ชื่อวงศ์                Mimosaceae

5. การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ

                                สีเสียดแก่นขึ้นกระจัดกระจายตามป่าโปร่งและป่าละเมาะ  บนพื้นที่ราบ  แห้งแล้ง สามารถขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ บนพื้นที่เสื่อมโทรม  สภาพดินเลวมีกรวดหินปะปน มีการระบายน้ำดี เป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบแสง  ทนทานต่อสภาพแห้งแล้ง  สามารถแตกหน่อได้อย่างรวดเร็ว  กล้าไม้จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในระยะแรก ๆ ถ้าไม่มีวัชพืชจำพวกหญ้ามาปิดบัง ภาคเหนือมีการปลูกในเขตชนบท เพื่อเอาแก่นเคี่ยวทำเป็นสีเสียดก้อน



6. ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา

                                เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 10-15 เมตร เรือนยอดโปร่งตามลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมโค้งทั่วไป  ซึ่งก่อความยากลำบากแก่คนหรือสัตว์ที่จะผ่านเข้าไปได้ เปลือกมีสีเทาคล้ำ หรือสีเทาปนน้ำตาล ค่อนข้างขรุขระ ผิวเปลือกแตกออกเป็นแผ่นยาว ๆ เปลือกในสีแดง

                                ใบ  เป็นช่อแบบขนนกสองชั้นยาว 9-17 ซม.  ช่อใบแขนงด้านข้างขึ้นตรงกันข้ามมี 10-20 คู่ แต่ละช่อมีใบย่อย 20-50 คู่  เรียงชิดซ้อนทับกัน ใบย่อยเป็นฝอยคล้ายรูปเข็มยาวประมาณ 6-7 มม.  กว้างประมาณ 1 มม. ปลายมน ฐานใบเบี้ยว  มีขนปกคลุมห่าง ๆ หรือเกลี้ยง ไม่มีขนผลิดอกระหว่างเดือน พฤษภาคม – กรกฎาคม

                                ดอก มีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือสีขาวอมเหลือง ไม่มีก้านดอก ดอกมีจำนวนมาก ออกบนช่อยาวคล้ายหางบกระรอก  แตกออกตามง่ามใบ 1-3 ช่อ ยาว 5-9 ซม. กลีบรองกลีบดอกยาวประมาณ 1 มม.  กลีบดอกมีความยาว  2-3 เท่าของกลีบรองกลีบดอก

                                ลักษณะฝัก  เป็นรูปบรรทัด แบน ยาว  5-10 ซม.  หัวและท้ายฝักเรียวแหลม ตัวฝักตรง ฝักแก่ประมาณเดือน กรกฎาคม – กันยายน  สีน้ำตาลคล้ำเป็นมันและจะแตกอ้าออกตามรอยตะเข็บด้านข้าง เมล็ดแบน สีน้ำตาลอมเขียวเป็นมัน ฝักหนึ่งมี 3-7 เมล็ด

                                เนื้อไม้  มีสีแดงเข้มถึงน้ำตาลแกมแดง เป็นมันเลื่อม เสี้ยนสน  เนื้อแน่น  แข็งเหนียว และทนทาน  เลื่อยผ่า ตบแต่งได้ยาก

7. การขยายพันธุ์

                                ไม่สีเสียดแก่นสามารถขยายพันธุ์ได้ 2 วิธี คือ

                                1. แบบอาศัยเพศ  ใช้เมล็ดเพาะในแปลงเพาะ  โดยทำการเก็บฝักแก่จากแม่ไม้ สังเกตว่มีสีน้ำตาลคล้ำเป็นมัน นำไปตากแดดให้แห้ง 2-3 วัน ฝักจะแตกอ้าตามรอยตะเข็บด้านข้างเมล็ดแก่จะมีสีน้ำตาลอมเขียว เป็นมัน  จำนวนเมล็ดต่อหนึ่งกิโลกรัมประมาณ 21,900 เมล็ด  นำเมล็ดไปเพาะในแปลงเพาะจะมีเปอร์เซ็นต์การงอกประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ และเมล็ดจะใช้เวลาในการงอก 10 วัน  จึงย้ายชำกล้าไม้ลงถุงพลาสติกที่ได้เตรียมดินไว้แล้ว  ดูแลรักษากล้าไม้ประมาณ 4-5 เดือน จึงนำไปปลูกในพื้นที่ต่อไป  สำหรับการเพาะเมล็ด อาจจะหยอดเมล็ดลงในถุงพลาสติกโดยตรงแล้ว รักษากล้าไม้ให้เจริญเติบโตจนถึงระยะปลูก

                                2. แบบไม่อาศัยเพศ  โดยการใช้เหง้าปลูก  เพราะไม้สีเสียดแก่นเป็นไม้โตเร็ว จึงสามารถขยายพันธุ์ตามธรรมชาติด้วยการแตกหน่อด้วย



8. การปลูก  การเจริญเติบโตและการปรับปรุงพันธุ์

                                การเตรียมพื้นที่ก่อนที่จะปลูก  การปลูกสีเสียดแก่นควรกระทำในฤดูแล้ง  เพราะทำได้ง่ายและสะดวกสำหรับพื้นที่ราบสามารถใช้เครื่องจักรกลช่วยเตรียมพื้นที่ได้เป็นการประหยัดเวลาและแรงงาน  ขั้นตอนการเตรียมพื้นที่ต้องทำการถางวัชพืช  แล้วเก็บริบสุมเผาให้เรียบร้อย จากนั้นก็ปักหลักหมายแนวปลูกเพื่อให้เป็นแถวเป็นแนว  จะเป็นการง่ายแก่การปลูกซ่อมและบำรุงรักษา

                                การกำหนดระยะปลูก  การปักหลักหมายแนวปลูกไม้สีเสียดแก่นจะใช้ระยะห่างเท่าใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ไม้เป็นสำคัญ เช่น ต้องการใช้เนื้อไม้ควรปลูกระยะห่าง  2x3 เมตร หรือ 4x4 เมตร  หากปลูกเพื่อต้องการผลิตไม้ฟืนหรือถ่าน ควรปลูกระหว่าง 2x2 หรือ 2x4 เมตร  แต่ถ้าปลูกเพื่อต้องการเก็บเมล็ดในการทำแหล่งเมล็ดพันธุ์ ควรปลูก 2x2 หรือ 2x4  แล้วค่อยตัดสาง เพื่อคัดเลือกต้นแม่พันธุ์ที่มีลักษณะดีและสวยงาม

                                เมื่อปักหลักเรียบร้อยแล้ว  ก็นำกล้าไม้ที่แข็งแรง  ซึ่งได้เตรียมไว้สำหรับการปลูกโดยมีขั้นตอนในการปลูกดังนี้

                                1. ขุดหลุมตรงหลักที่ปักหมายแนวไว้  ให้มีความกว้างลึกขนาดพอเหมาะ

                                2. เอาถุงพลาสติกออกแล้ววางต้นไม้ลงในหลุมให้คอรากต้นไม้อยู่เสมอกับระดับผิวดิน

                                3. ปลูกให้ลำต้นตรง แล้วใช้ดินผิวบนหรือดินที่ร่วนกลบราก และโคนต้นให้แน่น

                                4. ปลูกต้นไม้หลุมละต้น  เมื่อปลูกแล้วผูกยึดติดกับหลักประจำต้นไม้  เพื่อไม่ให้เอนไปมาในระยะแรกที่ปลูก

                                ไม้สีเสียดแก่นสามารถเจริญเติบโตรวดเร็วมาก  โดยทั่วไปจะให้ผลผลิตทางเนื้อไม้มาก  ในระยะห่างของการปลูกที่เหมาะสม เฉลี่ยประมาณ 2-3 ม.3 /ไร่/ปี (ระยะปลูก 4X4 เมตร อายุ 3-5 ปี)

9. วนวัฒนวิธีและการจัดการ

                                เมื่อทำการปลูกเรียบร้อยแล้ว  ต้องมีการดูแลรักษา เพื่อให้ต้นสีเสียดแก่นที่ปลูกตั้งตัวได้ดี และสามารถ เจริญเติบโตพ้นจากการแก่งแย่งการปกคลุมของวัชพืช  ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ และมีสิ่งที่ควรปฏิบัติในการบำรุงรักษาต้นไม้ที่ปลูกมีดังนี้

                                การแผ้วถางวัชพืช  จะถางวัชพืชบ่อยหรือไม่ขึ้นอยู่กับการเตรียมพื้นที่  สภาพของท้องที่ ถ้าพื้นที่มีดินอุดมสมบรูณ์ชุ่มชื้นดี  วัชพืชก็มักจะขึ้นเร็ว  การถางวัชพืชก็ต้องบ่อยครั้ง เพื่อให้กล้าไม้ตั้งตัวได้ และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

                                การปลูกซ่อม  ควรหมั่นตรวจดูและติดตามผลการปลูก หลังจากถางวัชพืชแล้ว หากมีต้นไม้ตาย  ก็ควรเร่งทำการปลูกซ่อม  เพื่อให้ต้นสีเสียดที่ปลูกขึ้นเต็มพื้นที่มากที่สุด อันทำให้การบำรุงรักษาสวนป่าในปีต่อ ๆ ไปทำได้ง่าย และเสียค่าใช้จ่ายน้อยด้วย

                                การทำแนวกันไฟ  เพื่อป้องกันไฟไหม้ต้นสีเสียดแก่น  และป้องกันไฟที่จะลุกลามมาจากภายนอก  ควรจะมีความกว้างประมาณ 8-10  เมตร และคอยเก็บกวาดใบไม้ กิ่งไม้ที่เป็นเชื้อเพลิงออกจากแนวกันไฟในฤดูแล้ง

                                การลิดกิ่งและตัดสางขยายระยะ  เมื่อเจริญเติบโตขึ้นในปีที่ 2-3 เรือนยอดก็ใหญ่ขึ้นควรจะมีการตัดแต่งกิ่ง  เพื่อให้ต้นไม้มีรูปทรงสวยงาม  และเมื่อมีเรือนยอดชิดกันมาก ก็ต้องทำการตัดสางขยายระยะ นำไม้มาใช้ประโยชน์รุ่นหนึ่งก่อน  ต้นไม้ที่เหลือก็จะได้รับแสงมากขึ้น  เจริญเติบโตต่อไป

                                การป้องกันและปราบปรามศัตรูพืช  การปลูกต้นไม้สีเสียดแก่นที่เป็นสวนป่านั้น ควรใช้มาตรการในการป้องกันจะดีกว่าการใช้วิธีแก้เมื่อมีโรคแมลงระบาด  ซึ่งในการป้องกันหรือปราบปรามโรคแมลงต้องใช้วิธีการต่าง ๆ เข้าช่วย เช่น วิธีการปลูก บำรุง การจัดการตามหลักวิชาการ เพื่อให้ต้นไม้มีความแข็งแรง  ทนทานต่อโรค  สำหรับไม้สีเสีสยดแก่นไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวนมากนัก

10. การใช้ประโยชน์

                                สีเสียดแก่นมีลักษณะของเนื้อไม้สีแดงเข้มถึงน้ำตาลแดง  ลักษณะเป็นมันเลื่อมเหนียว  ทนทาน ขัดชักเงาได้ดี ใช้ประโยชน์ในการทำเครื่องมือกสิกรรม ด้านเครื่องมือ ทำเสาเรือนหน้าไม้ใช้สำหรับกลึง  แกะสลัก สำหรับต้นที่ลักษณะไม่ดีก็ใช้ทำฟืนเชื้อเพลิง  การเผาถ่านซึ่งให้ความร้อนสูง  มีค่าความร้อนประมาณ  7.523  กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม

                                แก่นไม้สีเสียดแก่น  นำไปเคี่ยวให้น้ำฝาดชนิด Catechol และให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้าแห อวน หนัง

                                น้ำฝาดที่เคี่ยวเป็นก้อนแล้ว   เป็นยาสมานอย่างแรงแก้ท้องร่วง โรคบิด  แก้ไข้จับสั่น อมแก้ไข้  แก้เสียงแห้ง รักษาโรคเหงือกเพดาน  ลิ้น ฟัน  รักษาแผลของต่อมในลำคอ ล้างแผลไฟไหม้  แผลน่าเปื่อย

                                เนื้อในของเมล็ด  ใช้ในการรักษาโรคหิด  โรคผิวหนัง