วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ต้นไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลก ต้นปีบ



ต้นไม้ประจำจังหวัด

พิษณุโลก


ชื่อพันธุ์ไม้

ปีบ


ชื่อสามัญ

Cork Tree


ชื่อวิทยาศาสตร์

Millingtonia hortensis Linn. F.


วงศ์

BIGNONIACEAE


ชื่ออื่น

กาซะลอง กาดสะลอง (ภาคเหนือ), เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปีบ (ภาคกลาง)


ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นสูง 5–25 เมตร เปลือกขรุขระสีเทา ตามกิ่งมีช่องอากาศเป็นจุดๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปไข่แกมรูปหอกปลายใบแหลม ขอบใบหยักเว้าหรือหยักกลมๆ เรียบ โคนใบกลม มีต่อมขนอยู่ตรงมุมระหว่างเส้นกลางใบและเส้นใบ ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ตั้งตรง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อเล็กๆ ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรเพศผู้มี 4 อัน ยาว 2 อัน สั้น 2 อัน ติดอยู่บนกลีบใกล้ปลายที่แยกออก ผลเป็นฝัก เมล็ดมีปีก


ขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด


สภาพที่เหมาะสม

สภาพดินร่วนปนทราย อากาศชุ่มชื้น


ถิ่นกำเนิด

ป่าเบญจพรรณทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย

ต้นไม้ประจำจังหวัดพิจิตร ต้นบุนนาค




ชื่อทั่วไป-  ต้นบุนนาค
ชื่อสามัญ-  Iron Wood , Ceylon Iron Wood
ชื่อวิทยาศาสตร์-  Mesua ferrea
วงศ์- GUTTIFERAE  ( CLUSIACEAE )
ชื่ออื่นๆ-  นาคบุตร ปะนาคอ สารภีดอย ก๊าก่อ ก้ำก่อ
-  ภาคใต้ 
นาคบุตร (Nakbut)
-  มลายู ปัตตานี 
:
 ปะนาคอ (Pa-na-kho)
ถิ่นกำเนิด-  มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย
ประเภท-  ไม้ยืนต้น
รูปร่างลักษณะ-  ไม้ยืนต้นขนาดกลางออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ  ดอกขาวนวลงามสะดุดตา ใบเขียวแก่ขนาดย่อมเป็นพุ่มทึบ รูปเจดีย์ สวยงามมาก
-  
ออกดอก มีนาคม - กรกฎาคม เป็นผล เมษายน - สิงหาคม
การขยายพันธ์-  ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด 
   1. เมล็ดงอกใช้เวลาประมาณ 15 วัน
   2. ระยะเวลา 8 เดือน กล้าไม้จะมีความสูงประมาณ 60 ซม. สามารถย้ายปลูกได้
สภาพที่เหมาะสม-  ขึ้นประปรายในป่าดิบชื้น ทางภาคเหนือและภาคใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 20 - 700 เมตร
 
ประโยชน์-  ราก แก้ลมในลำใส้ เปลือกใช้กระจายหนอง กระพี้แก้เสมหะในลำคอ ไม้เป็นยาแก้ลักปิดลักเปิด ใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ ก่อสร้างเสา รอด ต่อเรือ ทำพานท้ายและรางปืน ด้ามร่ม ใบพอกแผลสดดอกบำรุง โลหิตระงับกลิ่นตัว ใช้ผสมสีเพื่อให้สีติดทน เมล็ด น้ำมันที่กลั่นจากเมล็ดใช้จุดตะเกียง และทำเครื่องสำอาง

ต้นไม้ประจำจังหวัดพะเยา ต้นสารภีไทย



ต้น สารภี
ชื่อพื้นเมือง: ทรพี สร้อยทอง สารภีแนน สารภีป่า
ลักษณะทั่วไป: ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10 - 15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ทึบ เปลือกสีเทาปนดำ
ใบ: เดี่ยว เรียงสลับ
ดอก: สีขาวมีกลิ่นหอม ออกเป้นดอกเดี่ยว หรือ ช่อแบบช่อกระจุกตามกิ่ง ดอก ออก ม.ค - มี.ค
ผล: ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดี่ยวทรงกระสวย ผล ออก ก.พ - เม.ย
ด้านภูมิทัศน์: ปลูกให้ร่มเงาในบ้าน ได้ดีเพราะพุ่มใบสวย ดอกหอม ผล เป็นอาหารนก
ประโยชน์: ดอกตูมใช้ย้อมไหมใสแดง ดอกมีสารช่วยขยายหลอดลม ขับลม บำรุงหัวใจและแก้ไข้
คนไทยโบราณเชื่อว่า: บ้านใดปลูกต้นสารภีไว้ประจำบ้านจะทำให้มีอายุยืนนานเพราะสารภีเป็นไม้ที่มีเนื้อไม้ละเอียดแข็งแรง ทนทาน และเป็นไม้ไทยที่มีอายุยืนอีกด้วย นอกจากนี้โบราณเชื่ออีกว่า ดอกสารภียังช่วยเป็นสิ่งบำรุงสุขภาพจิตที่ดี เพราะดอกสารภีเป็นเครื่องยาบำรุงหัวใจชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ร่างกายเกิดอารมณ์เยือกเย้นอ่อนหวาน ดังนั้นจึงทำให้ชีวิตมีอายุยืนยาว ได้เช่นกัน

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ต้นไม้ประจำจังหวัดน่าน ต้นเลี้ยวดอกขาว



ชื่อดอกไม้ ดอกเสี้ยวดอกขาว
ชื่อสามัญ Orchid Tree, Purple Bauhinia
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia variegata L.
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น เสี้ยวป่าดอกขาว
ลักษณะทั่วไป ต้นสูง 5 ? 10 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลม ใบเดี่ยวค่อนข้างกลม ปลายและโคนใบเว้า คล้ายใบแฝดติดกัน ใต้ใบมีขน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายกิ่ง 6 ? 10 ดอก มี 5 กลีบคล้ายดอกกล้ายไม้มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกตลอดปี ดอกดกช่วงเดือนพฤศจิกายน ? มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม เติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี ความชื้นสูง แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด อินเดีย, มาเลเซีย


ต้นไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์ ต้นอินทราชิต


ดอกไม้ประจำจังหวัด
นครสวรรค์
ชื่อสามัญ
Lagerstroemia loudonii Binn.
ชื่อวิทยาศาสตร์
Butea monosperma
วงศ์
LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น ๆ
เกรียบ ตะเกรียบ (ชอง-จันทบุรี), ตะแบกขน (นครราชสีมา), เสลาใบใหญ่ (ทั่วไป),
อินทรชิต
ลักษณะทั่วไป 
ต้นสูงได้ถึง 20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือทรงกระบอก หนาทึบ ใบเดี่ยวรูปไข่
แกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่งโคนมน ใบหนา และมีขนนุ่มทั้งสองด้าน
ออกดอกเป็นช่อตามกิ่ง มี 6 กลีบ โคนคอดเป็นก้านสั้น มีหลายสี เช่น ขาว ม่วง ม่วง
อมแดงกลีบดอกบางยับย่นออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลกลมรี
เปลือกแข็ง เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 5–6 พู เมล็ดจำนวนมาก มีปีก
การขยายพันธุ์
โดยเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม
ร่วนซุย แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิด
เอเชียเขตร้อน


ต้นไม้ประจำจังหวัดตาก ต้นแดง

ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ต้นทองกวาว

ต้นทองกวาว
ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงให































ต้นไม้ประจำจังหวัด

เชียงใหม่

ชื่อพันธุ์ไม้

ทองกวาว

ชื่อสามัญ

Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree

ชื่อวิทยาศาสตร์

Butea monosperma Kuntze.

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 8–15 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำแตกเป็นร่องตื้นๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบออกสลับกัน ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งก้านและที่ปลายกิ่ง ดอกสีเหลืองถึงแดงแสด ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบน มีเมล็ดที่ปลายฝัก

ขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

ที่ราบลุ่มในป่าผลัดใบ ป่าหญ้าหรือป่าละเมาะที่แห้งแล้ง พบมากทางภาคเหนือ